เวียงพร้าว.. นครแห่งชีวิตและวัฒนธรรม ร่วมกันพัฒนาเวียงพร้าว ให้เป็นเมืองที่มีความสงบสุข เป็นดินแดนแห่งธรรม นำวิถีชีวิตให้มีคุณภาพ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีความงดงามทางวัฒนธรรม

วัดและศาสนสถานในตำบล

วัดหนองอ้อ

       วัดหนองอ้อ ประวัติความเป็นมาของวัดศรีดอนไชยทรายมูลหนองอ้ออธิบายเรื่องราว : พระฝนแสนห่า เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดอนไชยทรายมูล หนองอ้อ   หมู่ 5  เป็นองค์พระพุทธรูป เก่าแก่ในสมัยเชียงแสนที่มีประวัติความ เป็นมาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อําเภอพร้าว โดยองค์พระฝนแสนห่าที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดอนไชยทรายมูล หนองอ้อนี้ คือ 1 ใน 9 องค์ ที่เกิดจากการเขียนคาถาขอฝนลงในเบ้าหลอมจากเกจิอาจารย์ระดับครูบา 108 รูป และมีการสวดคาถาขอฝนในตลอดพิธีการเททองลงในเบ้าพิมพ์ และเมื่อทําพิธีเบิกเนตรได้มีการสวดคาถาขอฝนอีก 108 จบ จึงเป็นที่มาของชื่อพระพุทธรูป  ทั้ง 9 องค์นี้ว่า “พระฝนแสนห่า” ในสมัยที่พญามังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ได้มอบหมายให้พระโอรสมาปกครอง

เมืองพร้าว จึงมอบพระฝนแสนห่า 1 องค์ ให้มาสักการบูชาโดยประดิษฐานอยู่ที่วัดเวียงยิ่ง ปัจจุบันคือบริเวณหมู่บ้านทุ่งน้อย ตําบลบ้านโป่ง เมื่อพม่าโจมตีเมืองเชียงใหม่ได้สําเร็จหัวเมืองต่างๆ รวมถึงเมืองพร้าวจึงต้องอพยพหนีจึงปล่อยบ้านเมืองเป็นเมืองร้าง ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ชาวบ้านได้ไปหาของป่าบริเวณวัดร้างจึงมีการพบเศียรพระพุทธรูปโผล่มาจากดินพบว่าคือ พระฝนแสนห่า จึงทําการบรรทุกเกวียนเพื่อเสี่ยงทายว่าวัวเทียมเกวียนจะนําพระเจ้าฝนแสนห่าไปยังวัดใด ซึ่งวัว เทียมเกวียนได้นําพระฝนแสนห่ามายังวัดศรีดอนไชยทรายมูลหนองอ้อแห่งนี้ ชาวบ้านจึงได้อันเชิญพระเจ้า ฝนแสนห่าขึ้นประดิษฐานบนวิหารจนถึงทุกวันนี้ โดยมีการเล่าขานกันมาว่าในขณะที่กําลังทําการอันเชิญองค์พระฝนแสนห่าขึ้นประดิษฐานบนวิหารแห่งนี้ ได้มีฝนตกตลอดการทําพิธี จึงทําให้พระเจ้าฝนแสนห่าเป็นที่เลื่องลือและเกิดความศรัทธาเชื่อถือของชาวบ้าน ก่อให้เกิดประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้าน คือ ในช่วงฤดูที่ฝนแล้งไม่ตกตาม ฤดูกาล ชาวบ้านและผู้ที่ศรัทธาจะทําการนําพระฝนแสนห่าออกมาทําการแห่รอบหมู่บ้าน เพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล